ตอบคำถาม ครั้งที่ 3

1. สุนทรีศาสตร์จัดอยู่ในสาขาใด
ตอบ สุนทรีศาสตร์จัดอยู่ในปรัชญาสาขาอัคฆวิทยา(Axiology)
หรือทฤษฎีคุณค่า(Theary of value)
2. สุนทรียศาสตร์กับจริยศาสตร์แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สุนทรีศาสตร์จะศึกษาและประเมินค่าของความงามสิ่งต่างๆทั้งที่เป็นผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นและความงามสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (เป็นรูปธรรม)
ส่วนจริยาศาสตร์จะศึกษาและประเมินคุณค่าเกี่ยวกับความประพฤติหรือการกระทำของมนุษย์โดยมีประเด็นสำคัญของปัญหาได้แก่ ความดี ความเลว คุณธรรม ความยุติธรรม ความผิด ความถูกต้อง สิทธิและหน้าที่เป็นต้น

3. ความงามตามทัศนะของท่านหมายถึงอะไร
ตอบ ความงาม คือ คุณค่าอยู่ภายในจิตใจ เป็นคุณค่าทางจิตใจ บางครั้งไม่สามารถสัมผัสได้ด้วย ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ดังคำที่ว่า “งามที่ใจ ใช่ใบหน้า”

4. สุนทรียธาตุคืออะไร มีความหมายครอบคลุมอะไรบ้าง
ตอบ สุนทรียธาตุ คือ ธาตุความงามเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ศิลปกรรมและธรรมชาติมีคุณค่าต่อมนุษย์และสังคม มีความหมายครอบคลุม ความงาม ในส่วนที่สามารถสัมผัสได้ด้วย ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และในส่วนที่ไม่สามารถวัดคุณค่าได้ในทางวิทยาศาสตร์แต่สามารถวัดได้ในทางปรัชญา

5. ท่านมีวิธีตัดสินความงามอย่างไร
ตอบ การตัดสินความงามโดยใช้หลักนักปรัชญาแบบ
1. แบบปรนัยนิยม(objectivism) คือ การตัดสินโดยยึดหลักแบบมาตรฐาน
2. อัตนัยนิยม(subjectivism ) คือ มนุษย์เป็นผู้ตัดสินทุกอย่างของความงาม
ในความคิดส่วนตัวของผู้ตอบ คิดว่า การตัดสินความงามแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งคล้ายกับการนำคุณลักษณะของวัตถุไปใช้ ไม่สามารถตัดสินได้ตายตัว

6. ให้ท่านยกตัวอย่างการตัดสินความงามของนักปรัชญากลุ่มต่างๆมาอย่าง3กลุ่ม
ตอบ การตัดสินใจปรนัยนิยม
- เพลโต้ (Plato) ความงามมาตรฐานมีอยู่อย่างปรนัยในโลกแห่งมโนคติศิลปินมี ความสามารถในการระลึกถึงความงามมาตรฐานอย่างใกล้เคียงมากเป็นพิเศษจึง พยายามถ่ายทอดโดยใช้สื่อต่างๆกันเมื่อผู้ชมได้ชมศิลปกรรมจะระลึกถึงความ งามมาตรฐานเดียวกันนั้นในระดับต่างๆกัน
-เฮเกล(Hegel) ถือว่าเป็นลักษณะของจิตสัมพัทธ์ผู้ใดได้ฝึกสมรรถทางจิตใจให้สุขุมก็จะ สามารถล่วงถึงความงามของจิตใจได้นั่นคือจิตมีอำนาจเหนือวัตถุ
-อริสโตเติล(Aristotle ถือว่าความงามอยู่ที่ความกลมกลืนของสัดส่วนต่างๆเพราะ สัดส่วนทำให้เกิดดารผ่อนคายของประสาทและอวัยวะต่างๆความยิ่งใหญ่ของ ศิลปินจึงอยู่ที่ความสามารถค้นพบความกลมกลืนนี้มาถ่ายทอดต่อสื่อ

7. ท่านคิดว่าคุณค่ากับคุณสมบัติเหมือนกันหรือว่าแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ถ้าคุณค่ากับคุณสมบัติเหมือนกันก็หมายความว่าคุณสมบัติเป็นลักษณะหรือ ส่วนประกอบของคุณค่าแต่ถ้าแตกต่างกันก็คือคุณค่าอยู่ที่อารมณ์และความรู้สึก ของแต่ละบุคคล บางครั้งสิ่งบางอย่างมีคุณสมบัติและคุณค่าควบคู่กันจนแยก ไม่ออกว่าสิ่งนั้นคือคุณค่าหรืคุณสมบัติเช่นความร้อนที่ได้จากดวงอาทิตย์ก็ถือได้ ว่าคุณค่ากับคุณสมบัติเหมือนกัน แต่บางครั้งของบางอย่างที่คุณสมบัติและ คุณค่าต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเช่นน้ำคุณสมบัติเป็นของเหลวคุณค่าถือว่ามี ประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในโลกก็ถือได้ว่าคุณค่าไม่เหมือนกัน

8. คุณค่ามีกี่แบบและแต่ละแบบมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ คุณค่ามี 2 แบบ คือ
1. คุณค่าในตัวเอง( Intrinsic value )คุณค่าในตัวเราต้องการสิ่งเป็นเพราะต้องการสิ่งนั้นเองมิใช่เป็นเครื่องมือให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้นเช่นการมีสุขภาพแข็งแรงสมบรูณ์การมีความสุขทางจิตใจเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง
2. คุณค่านอกตัว (Extrinsic value) คุณค่านอกตัวเราต้องการสิ่งนั้นมิใช่เพราะตัวสิ่งนั้นแต่เพราะสิ่งนั้นเป็นเครื่องมือหรือวิธีทำให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่นเช่นเงินเราต้องการมาเพราะสามารถนำไปซื้อสิ่งต่างๆเราต้องการอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพสนองความต้องการของร่างกายต้องการยารักษาโรคต้องการศึกษาเล่าเรียนเพื่อจะได้มีความรู้
ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์เรา การให้คุณค่าแก่สิ่งต่างๆทั้ง2ประเภทนี้เป็นสิ่งควบคู่กันเสมอและสิ่งเดียวกันบอกครั้งก็ให้คุณค่าทั้ง2ประเภทนี้

9. คำว่าพยาบาลกับความเป็นพยาบาลแตกต่างกันและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ พยาบาลมีกรอบในการทำงานที่แน่นนอนมีเงินเดือนมีหน้าที่สถานที่ทำงานผู้ที่จะประกอบวิชาชีพนี้ได้ต้องมีด้านพื้นฐานความรู้พยาบาล การแต่งกายชุดสีขาวสวมหมวกสุภาพเรียบร้อย มีมาตรฐานที่จะต้องทำกับผู้มารับบริการ
แต่ความเป็นพยาบาลจะมีเพิ่มมากกว่า พยาบาล คือ ต้องมีความเมตตากรุณาปราณี เอื้ออาทร โอบอ้อมอารี มีความปรารถนาดีต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์จากการเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจไม่รังเกียจ ไม่ดูถูกดูแคลน ให้ความเสมอภาคในการดูแลรักษาผู้อื่นอย่างเท่าเทียมกันมีความสำนึกและจรรยาบรรณในพฤติกรรม
ดังนั้นคำว่า “พยาบาล” กับ “ความเป็นพยาบาล” จึงมีความสัมพันธ์ควบคู่กันไป โดยยึดหลักจริยธรรมและสุนทรีศาสตร์โดยใช้ความรู้สึกส่วนหนึ่งของชีวิตเข้าใจในชีวิตของผู้เจ็บป่วยซึ่งต้องดูแลความรู้สึกหรือด้านจิตใจรวมไปกับความเจ็บป่วยทางกายด้วย

วิชาสุนทรียศาสตร์


ปัญหาที่ 1 ถ้าคุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ความเหลว ร่วน แข็ง ก็ย่อมเป็นลักษณะของคุณค่าด้วย (ยกตัวอย่างประกอบ)
คำตอบ คุณค่าเป็นข้อเท็จจริง โดยความเหลว ร่วน แข็ง เป็นคุณค่าในด้านคุณสมบัติของตนเอง เป็นคุณค่าที่เกิดมาในตัวของมันเอง เช่น หินมีคุณสมบัติเป็นของแข็ง มนุษย์จึงเลือกที่จะนำคุณค่าของหินที่มีความแข็งแรง ความคงทน มาใช้ในงานก่อสร้าง เพื่อความแข็งแรง

ปัญหาที่ 2 ถ้าคุณค่าในตัวของมันเอง เป็นคนละเรื่องกับคุณสมบัติ คุณค่าควรจะอยู่ที่ใด
คำตอบ ในการมองคุณค่าของแต่ละสิ่ง บางคนอาจมองได้แตกต่างกัน บางคนเลือกที่จะใช้คุณค่าจากคุณสมบัติในตัวตนของสิ่งนั้นๆ แต่บางคนอาจมีมุมมองที่แตกต่างกันได้ เช่น การนำหินมาใช้ในการก่อสร้าง เพราะเป็นการเลือกใช้คุณค่าจากคุณสมบัติ ในทางกลับกันบางคนอาจมองเห็นคุณค่าจากความสวยงามและเลือกที่จะใช้ความสวยงามในมุมมองของตน จึงนำหินมาวางโชว์ตกแต่งบ้าน คุณค่าจึงควรอยู่กับผู้ที่มองเห็นและนำคุณค่าของมันไปใช้ประโยชน์

ปัญหาที่ 3 ถ้าคุณค่าในตัวของมันเอง เหมายถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อสิ่งอื่น เช่น น้ำช่วยให้ชีวิตพืชพันธุ์เจริญเติบโต นั่นก็หมายความว่า คุณค่าจะเกิดขึ้นโดดๆหรือลอยๆไม่ได้ แต่จะต้องสัมพันธ์ต่อสิ่งอื่น มีผลต่อสิ่งอื่น และรับผลจากสิ่งอื่นด้วย
คำตอบ การที่สิ่งของมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดคุณค่าในตัวของมันเอง แต่ไม่ได้ถูกนำไปใช้คุณค่าของมันก็จะไม่เกิดขึ้น มนุษย์ถูกจัดว่าเป็นสัตว์ชั้นสูง มีสมอง มีความคิด คุณค่าของมนุษย์ควรจะดูในแง่ใด มนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ไปวันๆ ไม่ใช้ความคิด ไม่พัฒนาเอง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม แต่เขาก็ยังมีคุณค่าสำหรับตัวของเขาเอง แต่สำหรับบุคคลรอบข้าง อาจมองว่าเขาเป็นคนที่ไร้คุณค่าก็ได้

ปัญหาที่ 4 ถ้าคุณค่าในตัวของมันเอง หมายถึง การดำรงอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด หรือไม่มีผลต่อสิ่งใด ทั้งทางตรงและทางอ้อม คุณค่าในตัวของมันเองจะมีได้หรือไม่ เพราะว่าไม่ว่าสรรพสิ่งใดในโลกนี้ ไม่มีเลยที่จะดำรงอยู่ได้ในลักษณะโดดๆ โดยไม่ขึ้นแกใครหรือสัมพันธ์กับสิ่งใด
คำตอบ การที่ดำรงอยู่ได้ในลักษณะโดดๆ โดยไม่ขึ้นแก่ใครหรือสัมพันธ์กับส่องใด คุณค่าในตัวเองย่อมมีอยู่ได้ แต่ถ้าของสิ่งนั้นสามารถคิดและวิเคราะห์ตนเองได้เราอาจจะรู้สึกได้ว่า คุณค่าของตนเองมีน้อย ถ้าเขาไม่ได้แสดงคุณค่าที่เขาพึงกระทำ

ปัญหาที่ 5 การพิจารณาปัญหาคุณค่าแบบโดดๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด จะมีผลต่อการพิจารณาปัญหาอื่นๆหรือไม่ เพราะถ้ามนุษย์มีความเชื่อเช่นนี้ เมื่อมีปัญหาใดๆเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางศิลปกรรมหรือพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ เช่น ปัญหาคนเลว ความคิดที่ว่าเลว มันเลวของมันเองโดยกรรมพันธุ์ชาติกำเนิด ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นศิลปะเพื่อศิลปะ หรือศิลปะบริสุทธิ์ก็ต้องได้รับการพิจารณาในทำนองเดียวกัน

คำตอบ ในความเห็นของผู้ตอบ ไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า “คนเลวจะเลวโดยกรรมพันธุ์ชาติกำเนิด ไม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม” ถ้าในแนวความคิดของนักวิทยาศาสตร์จะต้องพิสูจน์ให้รู้ข้อเท็จจริง สามารถตอบได้ด้วยเหตุและผล และอาจจะมีการทำวิจับเพื่อให้ได้คำตอบนี้ ซึ่งในปัจจุบันคนเลวมีทั้งบุคคลทั่วไปจนถึงบุคคลที่มีชาติตระกูลดี เหตุผลที่เขาต้องเลวเพราะอะไร ใครบังคับให้เขาต้องเลว ในยุคสมัยนี้ การมีเพียงปัจจัย 4 ไม่เพียงพอสำหรับผู้ที่ไม่รู้จักคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นศิลปะเพื่อศิลปะจึงมีความหมายในลักษณะของศิลปะสำหรับผู้ที่รู้จักศิลปะ งานศิลปะนั้นอย่างน้อยที่สุดควรก่อให้เกิดอารมณ์ และ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นงานที่สื่อให้ผู้ชมเกิดจินตนาการ และงานศิลปะที่ดีควรจะมีคุณค่าทางความงามซึ่งเกิดจากการใช้องค์ประกอบของสุนทรียภาพ

...สุนทรียศาสตร์...(Aestheties)...







สุนทรียศาสตร์ (Aestheties) เป็นเนื้อหาว่าด้วยการศึกษาเรื่องมาตรฐานของความงาม ในเชิงทฤษฎีอันเกี่ยวกับประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ กฎเกณฑ์ทางศิลปะ สุนทรียศาสตร์นับว่าเป็นแขนงหนึ่งของปรัชญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาคุณค่า (Axiology) ในสมัยก่อนวิชานี้เป็นที่รู้จักกันในรูปของวิชา “ทฤษฎีแห่งความงาน” (Theory of Beauty) หรือปรัชญาแห่งรสนิยม (Philosophy of taste)
คำว่า “สุนทรียศาสตร์” มาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า“สุนทรียะ” แปลว่าดี งาม สุนทรียศาสตร์จึงมีความหมายตามรากศัพท์ว่าวิชาที่ว่าด้วยความงาม ในความหมายของคำเดียวกันนี้ นักปราชญ์ ชาวเยอรมันชื่อAisthetics Baumgarten (1718 – 1762) ได้เลือกคำในภาษากรีกมาใช้คำว่า Aisthetics ซึ่งหมายถึงการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense Perception) เป็นวิชาเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีแห่งความงามตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Aesthetics
ในทางวิชาการก็คือ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาศิลปะแขนงต่าง ๆ หลักการของศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะ ประสบการณ์ทางศิลปะ นอกจากนี้ ขอบเขตของความหมายยังได้ครอบคลุมไปถึงศิลปะกับชีวิตและสังคมร่วมทั้งความงามและปรากฎการณ์ที่งดงามของธรรมชาติอีกด้วย

ทำไมพยาบาลถึงต้องเรียนสุนทรียศาสตร์ อาจเป็นเพราะว่าพยาบาลชอบทำหน้าตูมเวลาทำงานมั้ง...อันนี้คิดเอาเองแบบว่าล้อเล่น...การสร้างเสริมพลังในการปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้ความรู้ของศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางวิทยาศาสตร์ (Science of Nursing) สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) หรือศิลปะทางการพยาบาล (Art of Nursing) จริยศาสตร์ (Ethics) และศาสตร์แห่งตน (Personal) เพื่อการเรียนรู้สู่การปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ (Best Practice)
"ความรู้สึกในความงามเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ เพราะชีวิต จริง ๆ ของมนุษย์เต็มไปด้วยการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ถ้ามนุษย์มีความเฉียบไวต่อความงาม จะทำให้มนุษย์ได้พักผ่อนทางจิตใจ เพราะสภาพที่มนุษย์กำลังดื่มด่ำกับความงามนั้น จิตจะเป็นสมาธิ มีความสงบเย็น ปราศจากกิเลสตัณหาทั้งปวง ระยะเวลาของความดื่มด่ำต่อความงามที่ปรากฏนี้ให้เพียงช่วงสั้น ๆ แวบเดียวเท่านั้น หลังจากนั้นจะเป็นช่วงของจินตนาการ หรือเป็นช่วงของการที่จะเกิดความคิดสร้างสรรค์ ค่าของความรู้สึกในความงามที่จะเผื่อแผ่ต่อโลกมนุษย์อยู่ตรงช่วงความคิดสร้างสรรค์นี้"