...สุนทรียศาสตร์...(Aestheties)...







สุนทรียศาสตร์ (Aestheties) เป็นเนื้อหาว่าด้วยการศึกษาเรื่องมาตรฐานของความงาม ในเชิงทฤษฎีอันเกี่ยวกับประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ กฎเกณฑ์ทางศิลปะ สุนทรียศาสตร์นับว่าเป็นแขนงหนึ่งของปรัชญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาคุณค่า (Axiology) ในสมัยก่อนวิชานี้เป็นที่รู้จักกันในรูปของวิชา “ทฤษฎีแห่งความงาน” (Theory of Beauty) หรือปรัชญาแห่งรสนิยม (Philosophy of taste)
คำว่า “สุนทรียศาสตร์” มาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า“สุนทรียะ” แปลว่าดี งาม สุนทรียศาสตร์จึงมีความหมายตามรากศัพท์ว่าวิชาที่ว่าด้วยความงาม ในความหมายของคำเดียวกันนี้ นักปราชญ์ ชาวเยอรมันชื่อAisthetics Baumgarten (1718 – 1762) ได้เลือกคำในภาษากรีกมาใช้คำว่า Aisthetics ซึ่งหมายถึงการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense Perception) เป็นวิชาเกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีแห่งความงามตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Aesthetics
ในทางวิชาการก็คือ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการศึกษาศิลปะแขนงต่าง ๆ หลักการของศิลปะ กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะ ประสบการณ์ทางศิลปะ นอกจากนี้ ขอบเขตของความหมายยังได้ครอบคลุมไปถึงศิลปะกับชีวิตและสังคมร่วมทั้งความงามและปรากฎการณ์ที่งดงามของธรรมชาติอีกด้วย

ทำไมพยาบาลถึงต้องเรียนสุนทรียศาสตร์ อาจเป็นเพราะว่าพยาบาลชอบทำหน้าตูมเวลาทำงานมั้ง...อันนี้คิดเอาเองแบบว่าล้อเล่น...การสร้างเสริมพลังในการปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้ความรู้ของศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางวิทยาศาสตร์ (Science of Nursing) สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) หรือศิลปะทางการพยาบาล (Art of Nursing) จริยศาสตร์ (Ethics) และศาสตร์แห่งตน (Personal) เพื่อการเรียนรู้สู่การปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ (Best Practice)
"ความรู้สึกในความงามเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ เพราะชีวิต จริง ๆ ของมนุษย์เต็มไปด้วยการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ถ้ามนุษย์มีความเฉียบไวต่อความงาม จะทำให้มนุษย์ได้พักผ่อนทางจิตใจ เพราะสภาพที่มนุษย์กำลังดื่มด่ำกับความงามนั้น จิตจะเป็นสมาธิ มีความสงบเย็น ปราศจากกิเลสตัณหาทั้งปวง ระยะเวลาของความดื่มด่ำต่อความงามที่ปรากฏนี้ให้เพียงช่วงสั้น ๆ แวบเดียวเท่านั้น หลังจากนั้นจะเป็นช่วงของจินตนาการ หรือเป็นช่วงของการที่จะเกิดความคิดสร้างสรรค์ ค่าของความรู้สึกในความงามที่จะเผื่อแผ่ต่อโลกมนุษย์อยู่ตรงช่วงความคิดสร้างสรรค์นี้"











ไม่มีความคิดเห็น: