ตอบคำถาม ครั้งที่ 3

1. สุนทรีศาสตร์จัดอยู่ในสาขาใด
ตอบ สุนทรีศาสตร์จัดอยู่ในปรัชญาสาขาอัคฆวิทยา(Axiology)
หรือทฤษฎีคุณค่า(Theary of value)
2. สุนทรียศาสตร์กับจริยศาสตร์แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สุนทรีศาสตร์จะศึกษาและประเมินค่าของความงามสิ่งต่างๆทั้งที่เป็นผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นและความงามสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (เป็นรูปธรรม)
ส่วนจริยาศาสตร์จะศึกษาและประเมินคุณค่าเกี่ยวกับความประพฤติหรือการกระทำของมนุษย์โดยมีประเด็นสำคัญของปัญหาได้แก่ ความดี ความเลว คุณธรรม ความยุติธรรม ความผิด ความถูกต้อง สิทธิและหน้าที่เป็นต้น

3. ความงามตามทัศนะของท่านหมายถึงอะไร
ตอบ ความงาม คือ คุณค่าอยู่ภายในจิตใจ เป็นคุณค่าทางจิตใจ บางครั้งไม่สามารถสัมผัสได้ด้วย ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ดังคำที่ว่า “งามที่ใจ ใช่ใบหน้า”

4. สุนทรียธาตุคืออะไร มีความหมายครอบคลุมอะไรบ้าง
ตอบ สุนทรียธาตุ คือ ธาตุความงามเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ศิลปกรรมและธรรมชาติมีคุณค่าต่อมนุษย์และสังคม มีความหมายครอบคลุม ความงาม ในส่วนที่สามารถสัมผัสได้ด้วย ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และในส่วนที่ไม่สามารถวัดคุณค่าได้ในทางวิทยาศาสตร์แต่สามารถวัดได้ในทางปรัชญา

5. ท่านมีวิธีตัดสินความงามอย่างไร
ตอบ การตัดสินความงามโดยใช้หลักนักปรัชญาแบบ
1. แบบปรนัยนิยม(objectivism) คือ การตัดสินโดยยึดหลักแบบมาตรฐาน
2. อัตนัยนิยม(subjectivism ) คือ มนุษย์เป็นผู้ตัดสินทุกอย่างของความงาม
ในความคิดส่วนตัวของผู้ตอบ คิดว่า การตัดสินความงามแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งคล้ายกับการนำคุณลักษณะของวัตถุไปใช้ ไม่สามารถตัดสินได้ตายตัว

6. ให้ท่านยกตัวอย่างการตัดสินความงามของนักปรัชญากลุ่มต่างๆมาอย่าง3กลุ่ม
ตอบ การตัดสินใจปรนัยนิยม
- เพลโต้ (Plato) ความงามมาตรฐานมีอยู่อย่างปรนัยในโลกแห่งมโนคติศิลปินมี ความสามารถในการระลึกถึงความงามมาตรฐานอย่างใกล้เคียงมากเป็นพิเศษจึง พยายามถ่ายทอดโดยใช้สื่อต่างๆกันเมื่อผู้ชมได้ชมศิลปกรรมจะระลึกถึงความ งามมาตรฐานเดียวกันนั้นในระดับต่างๆกัน
-เฮเกล(Hegel) ถือว่าเป็นลักษณะของจิตสัมพัทธ์ผู้ใดได้ฝึกสมรรถทางจิตใจให้สุขุมก็จะ สามารถล่วงถึงความงามของจิตใจได้นั่นคือจิตมีอำนาจเหนือวัตถุ
-อริสโตเติล(Aristotle ถือว่าความงามอยู่ที่ความกลมกลืนของสัดส่วนต่างๆเพราะ สัดส่วนทำให้เกิดดารผ่อนคายของประสาทและอวัยวะต่างๆความยิ่งใหญ่ของ ศิลปินจึงอยู่ที่ความสามารถค้นพบความกลมกลืนนี้มาถ่ายทอดต่อสื่อ

7. ท่านคิดว่าคุณค่ากับคุณสมบัติเหมือนกันหรือว่าแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ถ้าคุณค่ากับคุณสมบัติเหมือนกันก็หมายความว่าคุณสมบัติเป็นลักษณะหรือ ส่วนประกอบของคุณค่าแต่ถ้าแตกต่างกันก็คือคุณค่าอยู่ที่อารมณ์และความรู้สึก ของแต่ละบุคคล บางครั้งสิ่งบางอย่างมีคุณสมบัติและคุณค่าควบคู่กันจนแยก ไม่ออกว่าสิ่งนั้นคือคุณค่าหรืคุณสมบัติเช่นความร้อนที่ได้จากดวงอาทิตย์ก็ถือได้ ว่าคุณค่ากับคุณสมบัติเหมือนกัน แต่บางครั้งของบางอย่างที่คุณสมบัติและ คุณค่าต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเช่นน้ำคุณสมบัติเป็นของเหลวคุณค่าถือว่ามี ประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตในโลกก็ถือได้ว่าคุณค่าไม่เหมือนกัน

8. คุณค่ามีกี่แบบและแต่ละแบบมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ คุณค่ามี 2 แบบ คือ
1. คุณค่าในตัวเอง( Intrinsic value )คุณค่าในตัวเราต้องการสิ่งเป็นเพราะต้องการสิ่งนั้นเองมิใช่เป็นเครื่องมือให้ได้มาซึ่งสิ่งนั้นเช่นการมีสุขภาพแข็งแรงสมบรูณ์การมีความสุขทางจิตใจเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง
2. คุณค่านอกตัว (Extrinsic value) คุณค่านอกตัวเราต้องการสิ่งนั้นมิใช่เพราะตัวสิ่งนั้นแต่เพราะสิ่งนั้นเป็นเครื่องมือหรือวิธีทำให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่นเช่นเงินเราต้องการมาเพราะสามารถนำไปซื้อสิ่งต่างๆเราต้องการอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพสนองความต้องการของร่างกายต้องการยารักษาโรคต้องการศึกษาเล่าเรียนเพื่อจะได้มีความรู้
ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์เรา การให้คุณค่าแก่สิ่งต่างๆทั้ง2ประเภทนี้เป็นสิ่งควบคู่กันเสมอและสิ่งเดียวกันบอกครั้งก็ให้คุณค่าทั้ง2ประเภทนี้

9. คำว่าพยาบาลกับความเป็นพยาบาลแตกต่างกันและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ พยาบาลมีกรอบในการทำงานที่แน่นนอนมีเงินเดือนมีหน้าที่สถานที่ทำงานผู้ที่จะประกอบวิชาชีพนี้ได้ต้องมีด้านพื้นฐานความรู้พยาบาล การแต่งกายชุดสีขาวสวมหมวกสุภาพเรียบร้อย มีมาตรฐานที่จะต้องทำกับผู้มารับบริการ
แต่ความเป็นพยาบาลจะมีเพิ่มมากกว่า พยาบาล คือ ต้องมีความเมตตากรุณาปราณี เอื้ออาทร โอบอ้อมอารี มีความปรารถนาดีต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์จากการเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจไม่รังเกียจ ไม่ดูถูกดูแคลน ให้ความเสมอภาคในการดูแลรักษาผู้อื่นอย่างเท่าเทียมกันมีความสำนึกและจรรยาบรรณในพฤติกรรม
ดังนั้นคำว่า “พยาบาล” กับ “ความเป็นพยาบาล” จึงมีความสัมพันธ์ควบคู่กันไป โดยยึดหลักจริยธรรมและสุนทรีศาสตร์โดยใช้ความรู้สึกส่วนหนึ่งของชีวิตเข้าใจในชีวิตของผู้เจ็บป่วยซึ่งต้องดูแลความรู้สึกหรือด้านจิตใจรวมไปกับความเจ็บป่วยทางกายด้วย

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดีใจจังทำสำเร็จแล้ว